Archive | กุมภาพันธ์, 2012

สมเด็จพระสันตะปาปาทรงสถาปนาพระคาร์ดินัลใหม่จำนวน 22 รูป

27 ก.พ.

เมื่อวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ สมเด็จพระสันตะปาปาทรงสถาปนาพระคาร์ดินัลใหม่จำนวน 22 รูป ในพิธีดังกล่าวพระสันตะปาปาทรงมอบแหวนและหมวกประจำตำแหน่งให้กับพระคาร์ดินัลใหม่  พระองค์กล่าวเตือนใจว่า ขอให้พระคริสตเจ้าที่มอบพระองค์โดยสิ้นเชิงที่ไม้กางเขนได้เป็นรากฐานแห่งชีวิตของท่าน ที่มีความเชื่อที่มั่นคงเข้มแข็ง กระตือรือร้น มุ่งมั่นในงานกุศล  ขอให้ภารกิจของท่านในพระศาสนจักรเป็นไปในองค์พระคริสตเจ้าด้วยน้อมนำเอาปณิธานของพระองค์มาปฏิบัติ ซึ่งไม่ใช่แนวทางของโลก ขอให้ทุกกิจการของท่านมีความเชื่อส่องสว่างนำทาง เพื่อจะมุ่งมั่นประกอบกิจกุศลที่มาถึงเราโดยทางกางเขนอันรุ่งเรืองของพระองค์  แหวนที่พระคาร์ดินัลได้รับ มีรูปของนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโลปรากฏอยู่พร้อมกับรูปของพระนางมารีย์อยู่ตรงกลาง

พระสันตะปาปากล่าวว่า ท่านจงสวมแหวนนี้เพื่อเตือนใจตัวเองทุกวันว่า อัครสาวกสองท่านนี้ได้เป็นประจักษ์พยานถึงพระคริสตเจ้าและสละชีวิตเป็นมรณะสักขีที่ กรุงโรม โลหิตของท่านที่หลั่งออกมา ทำให้พระศาสนจักรเกิดผลเจริญก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้

บัลลังก์ของนักบุญเปโตร หมายถึง อำนาจในการปกครอง อันเป็นอำนาจของพระคริสตเจ้าที่มีบนพื้นฐานบนความเชื่อและความรัก

27 ก.พ.

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 กล่าวถ้อยคำดังกล่าวก่อนการสวดภาวนาเวลาเที่ยงต่อหน้าผู้แสวงบุญที่มารวมตัวกันที่ลานหน้าพระวิหารนักบุญเปโตร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ ในโอกาสวันฉลองธรรมมาสน์นักบุญเปโตร พระสันตะปาปากล่าวอธิบายว่า “บัลลังก์คือเครื่องหมายของภารกิจพิเศษที่นักบุญเปโตรและ     ผู้สืบตำแหน่งต่อจากท่านผู้มีหน้าที่ปกครองดูแลฝูงแกะของพระคริสตเจ้าให้เป็นหนึ่งเดียวกันในความเชื่อและภารกิจแห่งความรัก พระองค์ถือโอกาสนี้ขอให้ทุกคนร่วมใจกันภาวนาเพื่อพระ -คาร์ดินัลที่ได้รับการสถาปนาใหม่ เมื่อวันเสาร์ก่อนหน้านี้ว่า “พี่น้องที่รัก เราขอมอบ             พระคาร์ดินัลที่ได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ได้อยู่ในความคุ้มครองของพระนางมารีย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อพระนางจะช่วยเหลือเขาในการปฏิบัติหน้าที่รับใช้พระศาสนจักร และอยู่เคียงข้างเขาในความยากลำบากที่เขาพานพบ  ขอพระนางโปรดช่วยเขาและผู้ร่วมงานของเขาให้ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย เพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของประชากรของพระเจ้าและประกาศถึงข่าวดีแห่งความรอดด้วยใจสุภาพถ่อมตน โดยเพื่อยืนหยัดถึงความจริงเที่ยงแท้บนพื้นฐานของความรักโดยไม่ท้อถอย

ติดตามพระสันตะปาปาทางทวิตเตอร์ระหว่างมหาพรต

25 ก.พ.


หลายคนอาจมีข้อตั้งใจเป็นพิเศษในช่วงเทศกาลมหาพรต เช่นการละเว้นไม่ทานสิ่งที่ชอบ บางคนอาจศึกษาพระคัมภีร์เพิ่มเติม บางคนอาจไปเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส  แต่ในคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันกลับไม่ค่อยมีเวลา หรือมีโอกาสไม่มากนักที่จะทำตามความตั้งใจข้างต้นได้สะดวกนัก ด้วยสาเหตุดังกล่าวสมณองค์กรเพื่อการสื่อสารมวลชนจึงจัดให้มีการเผยแพร่ข่าวสารของพระสันตะปาปาในช่วงเทศกาลมหาพรตผ่านทางช่องทางการสื่อสารสังคมออนไลน์เช่นทวิตเตอร์ทุกวันในระหว่างเทศกาลมหาพรต โดยหวังว่าจะช่วยให้เยาวชนสามารถติดตามข่าวสารจากพระศาสนจักรได้อย่างใกล้ชิด ดังนั้นในระหว่างช่วงเวลาประมาณ 40 วันในเทศกาลมหาพรตนี้ โดยติดตามข่าวสารจากพระสันตะปาปาได้ทาง The pope2you

บทเพลงในพิธีระหว่างเทศกาลมหาพรต : ชื่นชมยินดี แต่ไม่ถึงกับเริงร่า

22 ก.พ.

มงซิญอร์ ฟีลิป วิทมอร์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติดนตรีศักดิ์สิทธิ์ กล่าวว่า “ในช่วงเทศกาลมหาพรต เพลงที่ใช้ในพิธีจะมีโทนเสียงที่แตกต่างไปจากเทศกาลอื่นๆ ซึ่งแม้ว่ายังคงไว้ซึ่งบรรยากาศชื่นชมยินดี แต่แฝงไว้ด้วยความเคร่งขรึม เพื่อตอบสนองต่อพิธีกรรม ที่ในเทศกาลนี้เราระลึกถึงการที่พระเยซูทรงอดอาหารเป็นเวลา 40 วัน เราคริสตชนจึงมีข้อตั้งใจในการถือศีลอดอาหาร สวดภาวนา และ ทำกิจเมตตาปรานี เพื่อเตรียมจิตใจสำหรับการฉลองอาทิตย์ศักดิ์สิทธิ์ ในเทศกาลนี้พระสงฆ์สวมอาภรณ์สีม่วง และ เราละเว้นไม่ร้องเพลงสิริมงคล และอัลเลลูยา”

บทเพลงบทหนึ่งที่มงซิญอร์ วิทมอร์ เห็นว่าเหมาะสำหรับเทศกาลนี้ตามธรรมประเพณีคือ เพลง ‘God of Mercy and Compassion’ พระเจ้าทรงเปี่ยมด้วยความเมตตาสงสาร เพลงเพลงนี้กล่าวถึงพระเมตตาของพระเจ้าต่อบรรดาคนบาป เนื้อร้องของบทเพลงนี้เรียบเรียงโดย พระสงฆ์คณะพระมหาไถ่ชื่อ เอ็ดมุนด์ โวกฮานมีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 19 ท่านเป็นผู้ก่อสร้างอาสนวิหารเวสต์มินส์เตอร์ นอกจากนี้ท่านเป็นลุงของ พระคาร์ดินัล เฮอร์เบิร์ต โวกฮานอีกด้วย เนื้อเพลงในท่อนรับก็เป็นไปตามยุคของบทเพลงแบบวิคตอเรียน ที่มีข้อรับที่แสดงถึงความตั้งใจแน่วแน่ในการแก้ไขตนเอง “All my sins I now detest them , never will I sin again” เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้ามีความชิงชังบาป และตั้งใจจะไม่กลับไปตกในบาปอีก

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงร้องขอให้ช่วยกันหยุดยั้งความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศซีเรีย

21 ก.พ.

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงร้องขอให้ช่วยกันหยุดยั้งความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศซีเรีย พระองค์กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศซีเรียด้วยความห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง  เพราะมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ข้าพเจ้าระลึกถึงเหยื่อของความรุนแรงทุกคนในคำภาวนา ในจำนวนคนเหล่านี้บางคนเป็นเด็กๆ ที่ต้องมาบาดเจ็บได้รับความยากลำบาก อันเนื่องมาจากความขัดแย้งอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้น ข้าพเจ้าขอวิงวอนให้หยุดความรุนแรงที่ก่อให้เกิดความบาดเจ็บเสียเลือดเนื้อนี้โดยทันที  ข้าพเจ้าขอเชิญทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจทางการเมืองในประเทศซีเรีย โปรดหาหนทางเพื่อการเจรจา แสวงหาหนทางเพื่อบรรลุถึงสันติภาพ ช่วงเวลาเช่นนี้ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่นานาประเทศ และองค์กรระดับนานาชาติจะเข้ามาช่วยกันหาหนทางเพื่อยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้นดังกล่าวโดยทันที

สมเด็จพระสันตะปาปาทรงภาวนาเพื่อผู้ประสบภัยหนาวอย่างรุนแรงในทวีปยุโรป

21 ก.พ.

เมื่อวันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ สมเด็จพระสันตะปาปา ทรงร้องขอให้แสดงความเห็นอกเห็นใจช่วยเหลือ บรรดาผู้ที่ประสบภัยหนาวครั้งรุนแรงที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรปในอาทิตย์ที่ผ่านมา ซึ่งก่อให้เกิดความยากลำบากในการดำรงชีวิตและความเสียหายมากมาย พระองค์ทรงแสดงความห่วงใยต่อทุกคนที่ต้องเผชิญกับความหนาวเย็น พระองค์ทรงเชิญให้ผู้แสวงบุญได้ร่วมกัน

สวดภาวนาเพื่อครอบครัวผู้ประสบภัยหนาว และ ขอถือโอกาสส่งใจไปยังทุกคนขอร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันกับผู้ที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ยากลำบากในครั้งนี้อีกด้วย

พระคาร์ดินัลใหม่ทุกรูปต้องรักพระเจ้า รักพระศาสนจักร และรักเพื่อนมนุษย์

21 ก.พ.

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2012 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงประกอบพิธีสถาปนาพระคาร์ดินัลใหม่จำนวน 22 รูป ที่มหาวิหารนักบุญเปโตร วาติกัน เวลา 10.30 น. พระคาร์ดินัลใหม่ที่สิทธิ์ในการออกเสียงเลือกตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม่ได้แก่

1. Fernando Filoni (Italian), Prefect of the Congregation for the Evangelization of Peoples

2. Manuel Monteiro de Castro (Portuguese), Major Penitentiary of the Apostolic Penitentiary

3. Santos Abril y Castelló (Spanish) , Archpriest of the Basilica of St. Mary Major

4. Antonio Maria Vegliò (Italian), President of the Pontifical Council for Migrants and Refugees

5. Giuseppe Bertello (Italian), President of the Government of the Vatican City State

6. Francesco Coccopalmerio (Italian), President of the Pontifical Council for Legislative Texts

7. João Bráz de Aviz (Brazilian), Prefect of the Congregation for Religious

8. Edwin O’Brien (American), Grand Master of the Order of the Holy Sepulchre

9. Domenico Calcagno (Italian), President of the Apostolic Patrimony of the Holy See

10. Giuseppe Versaldi (Italian), President of the Prefecture for the Economic Affairs of the Holy See

11. George Alencherry (Indian), Major Archbishop of the Syro-Malabar Church in India

12. Thomas Collins (Canadian), Archbishop of Toronto

13. Dominik Duka (Czech), Archbishop of Prague

14. Wim Eijk (Dutch), Archbishop of Utrecht

15. Giuseppe Bettori (Italian), Archbishop of Florence

16. Timothy Dolan (American), Archbishop of New York

17. Rainer Maria Woelki (German), Archbishop of Berlin

18. John Tong Hon (Chinese), Bishop of Hong Kong

นอกจากนี้สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ยังแต่งตั้งบุคคลที่ได้ทำงานให้กับพระศาสนจักรมายาวนานเพื่อเป็นเกียรติให้กับท่านเหล่านี้ ซึ่งมีอายุเกิน 80 ปีแล้ว ซึ่งจะไม่อยู่ขอบข่ายของพระคาร์ดินัลที่มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม่ได้ รายนามของพระคาร์ดินัลเหล่านี้ได้แก่ Four honorary cardinals:

1. Archbishop Lucian Mureşan, Major Archbishop of Făgăraş şi Alba Iulia (Romanian)

2. Monsignor Julien Ries (Belgian)

3. Augustinian Fr. Prosper Grech (Maltese)

4. Jesuit Fr. Karl Becker (German)

ความเจ็บป่วยคือประสบการณ์ของข้อจำกัดของเรามนุษย์

16 ก.พ.

“ความเจ็บป่วย เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา  ช่วยให้เรารู้ว่าเรามนุษย์ต่างต้องพึ่งพากันและกัน” สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 กล่าวถ้อยคำนี้ เวลาเที่ยงของ วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ที่ลานหน้าพระวิหารนักบุญเปโตร ซึ่งปกคลุมไปด้วยหิมะขาวโพลน พระสันตะปาปาสอนว่า ในยามเจ็บป่วย เป็นโอกาสทำให้เราได้รับความเอาใจใส่จากเพื่อนพี่น้อง และ เป็นโอกาสที่เราทำเช่นเดียวกันให้กับผู้อื่น  ความเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่เราต้องเผชิญ และอาจเรื้อรังรักษาไม่หายได้ และถ้าขาดการบำบัดรักษา ความทุกข์ทรมานก็ยืดยาวเนิ่นนานออกไป ผู้ป่วยก็ดูเหมือนถูกทอดทิ้งให้โดดเดี่ยวหงอยเหงา” พระสันตะปาปา  ทรงให้อรรถาธิบายเรื่องความเจ็บป่วยนี้ ก่อนถึงวันฉลองพระนางมารีย์ประจักษ์ที่ลูรด์ ซึ่งเป็นวันผู้ป่วยโลก พระองค์ยังกล่าวอีกว่า เราต้องช่วยกัน ด้วยการเอาใจใส่ต่อผู้เจ็บป่วยอย่างดี ด้วยความเชื่อ

พระสันตะปาปากล่าวว่า เรามนุษย์ทุกคนต่างก็ต้องการการได้รับความเห็นอกเห็นใจด้วยกันทั้งนั้น พระองค์ยังกล่าวอีกว่า ในยามที่พระเยซูต้องเผชิญกับปีศาจ พระบิดาโปรดประทานพลังแห่งความรักให้กับพระองค์ เช่นกัน เมื่อเราสามารถเผชิญและเอาชนะความเจ็บป่วยได้ โดยอาศัยความรักของพระเจ้าที่เต็มเปี่ยมในหัวใจของเรา

ความเชื่อกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง

16 ก.พ.

เมื่อวันศุกร์ที่ 27 มกราคม ที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงกล่าวเตือนเกี่ยวกับความไม่ใส่ใจในเรื่องศาสนาของมนุษย์ อาจทำให้ เปลวไฟแห่งความเชื่อริบหรี่ลง และ ดับมอดลงได้ในหลายๆ แห่งของโลก ด้วยเหตุนี้เองที่พระองค์ประกาศให้ปีนี้เป็นปีแห่งความเชื่อ พระสันตะปาปาเน้นย้ำเรื่องนี้ ต่อสมาชิกสมณองค์กรข้อความความเชื่อ ที่มาร่วมประชุมใหญ่ประจำปี

พระสันตะปาปายังกล่าวถึง หัวข้อเรื่องคริสตศาสนสัมพันธ์ ที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นหัวข้อประชุมประจำปีนี้ พระองค์ให้ข้อสังเกตุว่า กระบวนการเรื่องคริสตศาสนสัมพันธ์ต้องดำเนินไปบนพื้นฐานของคำสอนของพระศาสนจักรที่สอดคล้องกับสังคายนาวาติกันครั้งที่สองและธรรมประเพณีของพระศาสนจักร พระสันตะปาปาแสดงความหวังว่า คริสตศาสนนิกายต่างๆ จะสามารถบรรลุถึงการมีจริยธรรมและศีลธรรมที่เป็นมาตรฐานเดียวร่วมกัน

ผู้นำพระศาสนจักรท้องถิ่นต้องสนับสนุนกระแสเรียก

16 ก.พ.

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงออกสาส์นสำหรับ วันภาวนาเพื่อพระกระแสเรียก ครั้งที่ 49 ซึ่งมีหัวข้อหลักของปีนี้ว่า “กระแสเรียก พระพรแห่งความรักของพระเจ้า” พระสันตะปาปาทรงทรงร้องขอให้บรรดานักบวช นักพรต และครูคำสอน หันมาเอาใจใส่สมาชิกของพระศาสนจักรที่สังกัดอยู่ในวัด ในองค์กรต่างๆเพื่อมองหาบุคคลที่มีแววจะได้รับกระแสเรียกเป็นพระสงฆ์ และผู้ถวายตัวในคณะนักบวชต่างๆ พระสันตะปาปากล่าวว่า พระศาสนจักรท้องถิ่นต้องให้ความสำคัญในการสร้างกิจกรรมที่ช่วยให้บรรดาเยาวชนตอบรับเสียงเรียกของพระเจ้าอย่างเต็มใจ คุณพ่อโรเบิร์ต กาฮ์ล ผู้เชี่ยวชาญด้านจริยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยกางเขนศักดิ์สิทธิ์ในกรุงโรม กล่าวให้ความเห็นว่า “กิจกรรมนี้ต้องมีการสวดภาวนา โดยเฉพาะการภาวนาต่อหน้าศีลมหาสนิท นอกจากนี้ การให้การอบรมที่เข้มข้น จะช่วยให้ผู้ที่ตอบรับการเรียกสามารถฝึกฝนตนเอง นอกจากนี้สิ่งที่ขาดเสียไม่ได้คือการได้รับคำแนะนำทางจิตวิญญาณ เพราะคำแนะนำนี้จะช่วยให้แต่ละคนเข้าถึงกระแสเรียกของตนอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นเสียงที่เขาได้ยินจากภายในใจ และนั่นคือพระพรที่พระจิตเจ้าทรงประทานให้”